วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการสานก๋วย

วีดีโอแนะนำการสานก๋วยม้ง



1.  ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือสำหรับใช้ในการจักสาน 



  1  มีดโต้ หรือมีดอันใหญ่ที่สามารถ ผ่าเหลา ตอกได้



         2  ไม้ไผ่ที่มีอายุตั้งแต่  2  ปีขึ้นไป  เพราะเวลาที่สานไม้ไผ่จะได้ไม่แตกและมีความคงทนและจะต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลักษณะใหญ่พอสมควร

2.  ขั้นตอนดำเนินการ
1  การเลือกไม้จากกอ  ไม้ไผ่ที่จะนำมาจักสานถ้าจะให้ดีพอเหมาะแก่การใช้งานแล้วควรจะเป็นไม้ที่เจริญเติบโตตามปกติไม่แคะแกรน ไม่บิดงอ  ไม่เป็นมอดแมง  ผิวไม่ถลอก  มีระยะของปล้องระหว่าง 200 เซนติเมตร  และมีอายุ  2 ปี จะใช้สานได้ดี  เพราะไม้ในช่วงอายุดังกล่าวจะผ่า  จัก  เหลา และสานได้ง่าย ดัดโค้งได้ไม่แตกหัก หากไม้แก่เกินไปจะทำให้ยุ่งยาก  เหลายาก  เปราะแข็งเกินไป  ลำบากในการนำมาสาน  หากไม้อ่อนไปก็เสาะ หักง่าย  บวม  สานได้ไม่ค่อยแน่น ไม่ควรใช้ไม้ไผ่ที่มีสีต่างกัน ไม้ไผ่ที่ตากแห้งมานาน เป็นรา และไม้ไผ่ที่ถูกไฟไหม้กอ  เมื่อตัดไม้มาจากกอแล้วก็จะมาแบ่งไม้ทั้งลำออกเป็น ส่วนย่อยๆ ขนาดกว้าง  1  เซนติเมตร
2  การผ่า  เมื่อได้ไม้มาและตัดแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้ว จะนำมาผ่าและจัก การผ่าจะผ่าจากปลายลงมาหาโคน  และผ่าทะแยงให้เฉียดตาทั้ง 2 ข้าง  การผ่าและจักนี้นิยมผ่าและจักทีละท่อน ไม่นิยมผ่าทิ้งไว้  ทั้งนี้เพราะถ้าจักไม่ทันแล้วจะทำให้เหนียวจักยาก  ลำบากในการจักและเหลา  การผ่านิยมผ่ากลางก่อนแล้วจึงผ่าซอยออกเป็นซี่ ๆ ตามขนาดความกว้างของตอกที่จะสาน  ปกติการสานก๋วย (เข่ง)   นั้นจะผ่าแต่ละซี่  กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร

 
          3  การจักตอก  การจักตอกนั้นเมื่อผ่าออกมาเป็นซี่ ๆ  แล้วก็จะทำการผ่าไส้ในออก (เยื่อไม้) ส่วนผิวนอกก็จะขูดแต่งให้เรียบร้อย  ตอกมี 2 ชนิด คือ ตอกปื้น (จักตามผิว) และตอกตะแคง (จักขวางผิวการสานก๋วยนิยมจักตามผิว สำหรับตอกตั้งนั้นตรงกลางที่จะสานเป็นก้นของก๋วย  ต้อง เสี้ยมตอกให้เรียบก่อนแล้วจึงจัก ทั้งนี้เพราะส่วนก้นของก๋วยจะแคบกว่าส่วนปากตอกแต่ละเส้นจะจักให้มีความหนา ประมาณ 1 มิลลิเมตร เท่านั้น ทั้งเส้นสานและ เส้นยืน


4  การเหลา เมื่อจักเรียบร้อยแล้วก็จะเหลา (จะจักและเหลาให้เสร็จเป็นท่อน ๆ) การเหลานั้นปกติจะใช้ผ้าพันนิ้วมือที่รองตอกก่อน  ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้มีดหรือคมไม้บาดมือได้







5  การก่อก้น  เมื่อเตรียมตอกเรียบร้อยแล้วก็จะก่อก้นจำนวนเส้นที่ใช้ก่อเป็นเส้นคู่  จำนวน 9 คู่ด้วยกัน  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงามและต้องแบ่งตอกแต่ละข้างออกเท่า ๆ กัน ทั้งนี้เพื่อตอกจะได้เสมอเวลาขึ้นรูปแล้ว



6  การสาน เมื่อก่อแล้วก็จะสานก้นให้เรียบร้อย  การสานก้นนี้จะต้องให้ตอก ข้างหนึ่ง 6 คู่  และอีกข้าง  3 คู่ จะต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมนี้ก็ต้องจัดตอกส่วนที่ยื่นออกไปทั้ง 4  ด้านให้เท่า ๆ กันด้วย






7  ใช้ไม้ขัดก้น เมื่อสานก้นเรียบร้อยแล้วก็จะหาไม้ 2 อันมาขัดกัน  โดยการขัดไขว้กัน 2 อัน   เพื่อให้แข็งแรงก่อนที่จะขึ้นรูปต่อไป


         8  การสานขึ้นรูป  เมื่อขัดก้นเรียบร้อยแล้วก็จะใช้ตอกเวียนหรือตอกสานมาสานขึ้นรูป  การขึ้นรูปนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่ง  หากคนที่สานไม่ชำนาญอาจจะทำให้ก๋วยที่สานบิดเบี้ยวได้   ฉะนั้นจึงมีการนำโครงไม้ไผ่มาวางตรงกลางของก๋วย  เพื่อการขึ้นรูปจะได้ไม่บิดเบี้ยว  การขึ้นรูปนี้จะทำการหักมุมตอกยืน  โดยใช้ดันกับหัวเข่า  และจะต้องดึงแต่ละมุมให้เท่า ๆ กันอีกด้วย

        

            สานประมาณนี้นำตอกเส้นเล็กผูกตรงกลางระหว่างก๋วย      เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยวของก๋วย


        10  นำโครงก๋วยมาวางตรงกลางเพื่อเป็นแนวในการสานขึ้นรูปและให้ก๋วยคงรูปเล็กจากล่างปากเริ่มกว้างขึ้น



         11  สานสลับไปมาระหว่างเส้นไปเรื่อยๆ จนสุดโครงของก๋วย

 


12  การเข้าขอบ  การเก็บขอบก๋วยจะทำการสานซ้อนเข้าในของปากก๋วย  โดยการสานสลับกันจนสิ้นสุดปากก๋วย 


13  การตัดแต่งปากเมื่อสานจนได้รูปทรงก๋วยแล้ว ทำการตัดปลายตอกตั้งให้เสมอกัน  ก่อนที่จะทำการใส่ขอบปากต่อไป
  

           14  ก๋วยสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น