วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อเสนอแนะจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการสานก๋วยม้ง


กระบวนการถ่ายทอดความรู้การสานก๋วยม้ง ด้านเนื้อหาการถ่ายทอดยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้การถ่ายทอดโดยการบอกเล่า และเน้นการถ่ายทอดที่เป็นรายบุคคล การปฏิบัติตาม  และการสานก๋วยม้งเป็นลักษณะที่มีความละเอียดมาก จะใช้เวลาเป็นหลายๆวันในการสาน จึงสังเกตได้ว่าผู้สานก๋วยม้ง จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้น หรือในชุมชนนั้นเอง จึงเกิดการเผยแพร่ในวงกว้างค่อนข้างยาก  และจะพบว่าถ้าผู้ถ่ายทอดเสียชีวิต แล้วก็จะไม่มีการสืบทอดต่อความรู้นั้น  จึงทำให้ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นกิดการสูญหายไป  ดังนั้นควรมีการเก็บภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในรูปแบบของความรู้ที่ชัดแจ้ง โดยใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ช่วยในการเผยแพร่ เช่น  การทำวีดีโอ การทำคู่มือ การจัดบอร์ด  ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการ สานก๋วยม้ง  ตั้งแต่ขั้นตอนการหาวัตถุดิบและการสานลายต่างๆ การทำรูปทรงต่างๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้น  สามารถปฏิบัติตามได้  ซึ่งจะลดปริมาณเวลาไปนั่งเรียนและลดเวลาของผู้ถ่ายทอด  เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักใน การเก็บบันทึก และจะทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (การจักสานภูมิปัญญาไทย, ม.ป.ป.)

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

 
            











จากซ้ายมือไปขวามือ >>>  
นางสาวยุพิน          หน่อไพรสน    55122617                           
ายสกุล                หลวงทิพย์        53123425              
นางสาววาสนา      สกุลเรืองแสง   55122620
นางสาวตาล           เซียมหลาย       55122609
นางสาวศรัณย์พร  สันติสุขวนา     55122650

สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

ผู้ให้ความรู้






คุณหง้าหลื่อ  ยืนยงคีรีมาศ  อายุ  80  ปี 
ที่อยู่  88  หมู่  1  ตำบลบ่อสลี  อำเภฮฮอด จังหวัดเชียงใหม่  50240        (หมู่บ้าน แม่โถ)

ขั้นตอนการสานก๋วย

วีดีโอแนะนำการสานก๋วยม้ง



1.  ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือสำหรับใช้ในการจักสาน 



  1  มีดโต้ หรือมีดอันใหญ่ที่สามารถ ผ่าเหลา ตอกได้



         2  ไม้ไผ่ที่มีอายุตั้งแต่  2  ปีขึ้นไป  เพราะเวลาที่สานไม้ไผ่จะได้ไม่แตกและมีความคงทนและจะต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลักษณะใหญ่พอสมควร

2.  ขั้นตอนดำเนินการ
1  การเลือกไม้จากกอ  ไม้ไผ่ที่จะนำมาจักสานถ้าจะให้ดีพอเหมาะแก่การใช้งานแล้วควรจะเป็นไม้ที่เจริญเติบโตตามปกติไม่แคะแกรน ไม่บิดงอ  ไม่เป็นมอดแมง  ผิวไม่ถลอก  มีระยะของปล้องระหว่าง 200 เซนติเมตร  และมีอายุ  2 ปี จะใช้สานได้ดี  เพราะไม้ในช่วงอายุดังกล่าวจะผ่า  จัก  เหลา และสานได้ง่าย ดัดโค้งได้ไม่แตกหัก หากไม้แก่เกินไปจะทำให้ยุ่งยาก  เหลายาก  เปราะแข็งเกินไป  ลำบากในการนำมาสาน  หากไม้อ่อนไปก็เสาะ หักง่าย  บวม  สานได้ไม่ค่อยแน่น ไม่ควรใช้ไม้ไผ่ที่มีสีต่างกัน ไม้ไผ่ที่ตากแห้งมานาน เป็นรา และไม้ไผ่ที่ถูกไฟไหม้กอ  เมื่อตัดไม้มาจากกอแล้วก็จะมาแบ่งไม้ทั้งลำออกเป็น ส่วนย่อยๆ ขนาดกว้าง  1  เซนติเมตร
2  การผ่า  เมื่อได้ไม้มาและตัดแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้ว จะนำมาผ่าและจัก การผ่าจะผ่าจากปลายลงมาหาโคน  และผ่าทะแยงให้เฉียดตาทั้ง 2 ข้าง  การผ่าและจักนี้นิยมผ่าและจักทีละท่อน ไม่นิยมผ่าทิ้งไว้  ทั้งนี้เพราะถ้าจักไม่ทันแล้วจะทำให้เหนียวจักยาก  ลำบากในการจักและเหลา  การผ่านิยมผ่ากลางก่อนแล้วจึงผ่าซอยออกเป็นซี่ ๆ ตามขนาดความกว้างของตอกที่จะสาน  ปกติการสานก๋วย (เข่ง)   นั้นจะผ่าแต่ละซี่  กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร

 
          3  การจักตอก  การจักตอกนั้นเมื่อผ่าออกมาเป็นซี่ ๆ  แล้วก็จะทำการผ่าไส้ในออก (เยื่อไม้) ส่วนผิวนอกก็จะขูดแต่งให้เรียบร้อย  ตอกมี 2 ชนิด คือ ตอกปื้น (จักตามผิว) และตอกตะแคง (จักขวางผิวการสานก๋วยนิยมจักตามผิว สำหรับตอกตั้งนั้นตรงกลางที่จะสานเป็นก้นของก๋วย  ต้อง เสี้ยมตอกให้เรียบก่อนแล้วจึงจัก ทั้งนี้เพราะส่วนก้นของก๋วยจะแคบกว่าส่วนปากตอกแต่ละเส้นจะจักให้มีความหนา ประมาณ 1 มิลลิเมตร เท่านั้น ทั้งเส้นสานและ เส้นยืน


4  การเหลา เมื่อจักเรียบร้อยแล้วก็จะเหลา (จะจักและเหลาให้เสร็จเป็นท่อน ๆ) การเหลานั้นปกติจะใช้ผ้าพันนิ้วมือที่รองตอกก่อน  ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้มีดหรือคมไม้บาดมือได้







5  การก่อก้น  เมื่อเตรียมตอกเรียบร้อยแล้วก็จะก่อก้นจำนวนเส้นที่ใช้ก่อเป็นเส้นคู่  จำนวน 9 คู่ด้วยกัน  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงามและต้องแบ่งตอกแต่ละข้างออกเท่า ๆ กัน ทั้งนี้เพื่อตอกจะได้เสมอเวลาขึ้นรูปแล้ว



6  การสาน เมื่อก่อแล้วก็จะสานก้นให้เรียบร้อย  การสานก้นนี้จะต้องให้ตอก ข้างหนึ่ง 6 คู่  และอีกข้าง  3 คู่ จะต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมนี้ก็ต้องจัดตอกส่วนที่ยื่นออกไปทั้ง 4  ด้านให้เท่า ๆ กันด้วย






7  ใช้ไม้ขัดก้น เมื่อสานก้นเรียบร้อยแล้วก็จะหาไม้ 2 อันมาขัดกัน  โดยการขัดไขว้กัน 2 อัน   เพื่อให้แข็งแรงก่อนที่จะขึ้นรูปต่อไป


         8  การสานขึ้นรูป  เมื่อขัดก้นเรียบร้อยแล้วก็จะใช้ตอกเวียนหรือตอกสานมาสานขึ้นรูป  การขึ้นรูปนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่ง  หากคนที่สานไม่ชำนาญอาจจะทำให้ก๋วยที่สานบิดเบี้ยวได้   ฉะนั้นจึงมีการนำโครงไม้ไผ่มาวางตรงกลางของก๋วย  เพื่อการขึ้นรูปจะได้ไม่บิดเบี้ยว  การขึ้นรูปนี้จะทำการหักมุมตอกยืน  โดยใช้ดันกับหัวเข่า  และจะต้องดึงแต่ละมุมให้เท่า ๆ กันอีกด้วย

        

            สานประมาณนี้นำตอกเส้นเล็กผูกตรงกลางระหว่างก๋วย      เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยวของก๋วย


        10  นำโครงก๋วยมาวางตรงกลางเพื่อเป็นแนวในการสานขึ้นรูปและให้ก๋วยคงรูปเล็กจากล่างปากเริ่มกว้างขึ้น



         11  สานสลับไปมาระหว่างเส้นไปเรื่อยๆ จนสุดโครงของก๋วย

 


12  การเข้าขอบ  การเก็บขอบก๋วยจะทำการสานซ้อนเข้าในของปากก๋วย  โดยการสานสลับกันจนสิ้นสุดปากก๋วย 


13  การตัดแต่งปากเมื่อสานจนได้รูปทรงก๋วยแล้ว ทำการตัดปลายตอกตั้งให้เสมอกัน  ก่อนที่จะทำการใส่ขอบปากต่อไป
  

           14  ก๋วยสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานได้







ประวัติและความสำคัญของก๋วย

ประวัติของงานจักสาน

นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว   มาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี เครื่องจักสานนั้นยังเป็น เครื่องมือที่มนุษย์สามารถจะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ไม่เพียงแต่ด้านประโยชน์ใช้สอยเท่านั้นที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ความสวยงาม และ ความทนทานถาวร ก็เป็นปัจจัยที่มนุษย์ให้ความสำคัญ วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเครื่องจักสาน  เช่น จำพวกไม้ไผ่ที่หาได้ง่ายจากในป่า  ปลูกเองตามบริเวณบ้าน  นำมาจักสาน และได้มีการสืบทอดมาจนปัจจุบัน กรรมวิธีดังกล่าว ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า หัตถกรรมอันหมายถึง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ เครื่องมือ ภูมิปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งเป็นประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้สอย โดยรวมความงามแล้ว จะเน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ ประณีตงดงามเป็นความละเอียดอ่อนในทางศิลปะ เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า หัตถกรรมศิลป์(วิบูลย์  ลิ้สุวรรณ, 2563,199)
ภูมิประเทศเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ล้วนแต่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์นานาชนิดสามารถนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างวัสดุที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดีคือ ไม้ไผ่ ที่นำมาทำเครื่องใช้ในครัวเรือนได้เกือบทุกชนิด เช่นกระด้ง กระเชอ กระชอน ก๋วย  สานเป็นเครื่องดักจับสัตว์น้ำเช่น ไซ ข้อง ฯลฯ และสานเป็นฝาเรือน ฝาบ้าน เป็นต้น (ทวี  กองศรีมา  และคนอื่นๆ,  ม.ป.ป.,8)

ประวัติของหมู่บ้าน

            ชาวม้งบ้านแม่โถมีถิ่นฐานเดิมอพยพจาก จังหวัดลำพูน หรือเรียกกันว่า (หล่ามง) และอีกส่วนหนึ่งย้ายมาจาก อำเภอแม่แจ่ สาเหตุที่ต้องอพยพ ย้ายมาอยู่บ้านแม่โถ เพราะว่าชาวม้งสมัยแต่ก่อนมีอาชีพปลูกผัก ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพดเป็นหลัก เลยต้องการดินใหม่ๆ และต้องปลูกในพื้นที่ดอยสูงที่มีอากาศเย็น เหตุนี้จึงทำให้มีกาอพยพย้ายถิ่นฐานมายังพื้นที่สูง และยังบอกไม่ได้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่เป็นอันดับแรกของหมู่บ้าน   

        ชาวม้งได้อพยพมากในปี พ.ศ. 2500 ฉะนั้นชาวม้งบ้านแม่โถได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านแม่โถเป็นระยะเวลาประมาณ 55 ปี  ชื่อเดิมหมู่บ้านในสมัยก่อนมีชื่อว่า มีดถุ แต่มีคนจากประเทศอังกฤษได้มาถ่ายทำสารคดีม้ง เลยได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านแม่โถ โดยปัจจุบันในหมู่บ้านจะมีหลังคาบ้านประมาณ 500 หลังคา โดยในหมู่บ้านจะแบ่งแยกย่อยหมู่บ้านออกเป็นหลายหมู่บ้านด้วยกัน เพราะหมู่บ้านมีขนาดใหญ่พอสมควร จึงแบ่งออกเป็น 5 หมู่บ้านย่อยด้วยกัน คือ บ้านเล่าลี, บ้านบ่อเหล็ก, บ้านใหม่, หน้าโรงเรียน และบ้านบน ชื่อหมู่บ้านทุกหมู่บ้านล้วนมีที่มาของชื่อหมู่บ้าน  

ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้านจะอยู่กันเป็นแบบ  เครือญาต ม้งบ้านแม่โถจะนับถือลัทธิความเชื่อ หรือผีปู่ ผีย่า ชาวม้งหมู่บ้านแม่โถได้มีการแบ่งตระกูลออกเป็น 4 ตระกูล ตระกูลที่ใหญ่ที่สุดคือ เลาหาง รองลงมาคือ แซ่มัว,  แซ่จาง และน้อยที่สุดคือ แซ่ย่าง สาเหตุที่มีการแบ่งแยก เป็นแซ่ หรือ ตระกูล ก็เพราะว่าถ้าหากเป็นคนแซ่เดียวกันก็จะแต่งงานด้วยกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่คนละหมู่บ้านก็ตาม แต่ถ้ามีแซ่เดียวกันก็ไม่สามารถแต่งงานด้วยกันได้ต้องแต่งกับคนต่างแซ่ หรือต่างตระกูลเท่านั้น ถ้าแต่งกับแซ่เดียวกันนั้นจะเปรียบเสมือนว่าพี่แต่งกับน้อง ซึ่งจะถือว่าเป็นการผิดผี หรือผิดจารีกประเพณีนั่นเอง (หง้าหลื่อ  ยืนยงคีรีมาศ , 2555  กันยายน 1)

ความสำคัญของก๋วย

ม้งหมู่บ้านแม่โถส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ  การเกษตร ทำไร่  ทำนา ทำสวน ดังนั้นจึงมีการคิดค้นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ภาชนะบรรจุพืชผลทางการเกษตร จึงมีการสานก๋วยขึ้นมา ที่มีหลากหลายแบบ  ก๋วยที่ใช้นั้นจะมีความคงทนใช้งานได้นานเป็นหลายปีก็ว่าได้ ก๋วยที่ทำมาจากต้นไผ่ที่หาได้ง่ายๆ ตามท้องถิ่น อายุต้นไผ่ที่สามารถนำมาสานก๋วยนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปเพราะถ้านำไผ่ที่มีอายุ ต่ำกว่านี้มาใช้สาน อายุการใช้งานของก๋วยจะใช้ได้ไม่นาน และเวลาสานไม้ไผ่จะแตกง่าย งอกดัดยาก ก๋วยจากไม้ไผ่นี้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเขาเผ่าม้ง  มีมาตั้งแต่คนในสมัยโบราณ ที่มีลักษณะเฉพาะ รูปทรงไม่เหมือนก๋วยทั่วไป ที่พบเห็น ลักษณะแข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นาน แต่คนในชุมชนไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำมาใช้เอง ก๋วย มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน  เพราะต้องใช้ ก๋วยในการบรรจุข้าวของเครื่องใช้เวลาที่ไป ทำไร่ ทำสวน เพื่อกันพวกสุนัขและอีกาที่มาคาบข้าวของ และยังใช้ก๋วยในการเรียกขวัญที่สวนหรือที่ไร่ที่ได้มีการเพาะปลูก ในเวลาที่ใกล้มีงานประเพณีปีใหม่ม้ง ก๋วยเริ่มสูญหายไปจากชุมชน คนในชุมชนส่วนมากหันมาซื้อตะกร้าใช้เป็นภาชนะบรรจุผลผลิต ซึ่งอายุการใช้งานได้ไม่นาน และไม่คงทนเหมือนก๋วย (หง้าหลื่อ  ยืนยงคีรีมาศ , 2555  กันยายน 1)